วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

โลมาอิระวดี



โลมาอิระวดี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Orcaella brevirostris
วงศ์ : DELPHINIDAE
รายละเอียด
มีลักษณะคล้ายกับ ปลาวาฬDelphinapterus leucas มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปลาวาฬนักล่า Orcinus orca ลักษณะเด่นคือ หัวค่อนข้างกลม ไม่มีจะงอยปาก เช่น โลมาอีกหลายชนิด สีลำตัวแปรเปลี่ยนไปตั้งแต่สีน้ำเงิน เทาเข้มจนถึงน้ำเงินจาง โลมานี้จะรวมกลุ่มเช่นเดียวกับโลมาในมหาสมุทรแม้ว่าโลมาบางตัวสามารถอาศัยได้ในแม่น้ำที่จืดสนิทก็ตาม มักพบโลมาอาศัยอยู่บริเวณน้ำตื้นชายฝั่งในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนของมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค รอบหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย ตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้ชายฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำได้แก่ บางปะกงทะเลสาบสงขลา เจ้าพระยา เป็นต้น
ลักษณะทั่วไปของโลมาอิระวดี คือ มีครีบหลังรูปทรงสามเหลี่ยมขนาดเล็กปลายมน พบในตำแหน่งที่ห่างจากจุดกึ่งกลางลำตัวค่อนไปทางหางนัก มีสีเทาดำ ถึงสีเทาสว่าง ลำตัวมีความยาวประมาณ 275 เซนติเมตร แต่เฉลี่ยแล้วมีความยาว 210 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 115 – 130 กิโลกรัม เป็นโลมาขนาดเล็ก ว่ายน้ำโดยปกติค่อนข้างช้า และอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เมื่อพิจารณาลักษณะภายนอก โลมาอิระวดีมีรูปร่าง ลักษณะคล้ายคลึงกับวาฬเบลูก้า (Beluga whale) หรือที่เรียกทั่วไปว่าวาฬมีฟัน (Toothed whale) และยังมีรูปทรงคล้ายคลึงกับโลมาหัวบาตร หรือโลมาไม่มีครับหลัง(Finless porpoise) ซึ่งมีหัวลมมนคล้ายกัน ทำให้บางครั้งมีความสับสนขึ้น แต่ที่จำง่าย ๆ ก็คือ โลมาอิระวดีมีครีบบนหลังหนึ่งอัน และมีฟันแหลมอยู่บนขากรรไกรบน จำนวนเต็มที่ 40 ซี่และจำนวน 36 ซี่ อยู่บนขากรรไกรล่าง




อุปนิสัยของโลมาอิระวดีมักอยู่รวมเป็นฝูงเล็ก แต่ละฝูงมีจำนวน 6 ตัว หรือน้อยกว่า ไม่ชอบปรากฏตัวให้เห็นตามผิวน้ำทะเล แต่ชอบโผล่หัวขึ้นมา ที่ระดับผิวน้ำ ค่อนข้างขี้อายและหลบซ่อนตัว ความยาวของโลมาเต็มวัย อยู่ระหว่าง 90 -150 กิโลกรัมและให้ลูกเกิดใหม่มีความยาวประมาณ 1 เมตร ที่มีน้ำหนักประมาณ 12 กิโลกรัมหรือมากกว่า อาหารอันโอชะของโลมาเหล่านี้คือปลากุ้งและปลาหมึก บางครั้งช่วยเหลือชาวประมง โลมามีตา หู จมูก และลิ้นเหมือนคนเรา มันจะเห็นได้ชัดเจนที่สุดในที่โล่ง และน้ำตื้น แต่เนื่องจากโลมาไม่มีตาอยู่ด้านหน้าจึงไม่สามารถกะระยะทางได้ดีนัก เมื่ออยู่ใต้น้ำ จมูกของโลมาจะปิด ดังนั้นมันจะไม่ได้กลิ่นอะไรเลย แต่ลิ้นสามารถรับรสจากสารเคมีในน้ำได้ดี การรับเสียงด้วยคลื่นสะท้อนแบบเรดาร์ของโลมา ใช้ล่าเหยื่อ และรู้วัตถุหรือลักษณะภูมิประเทศใต้น้ำได้เป็นอย่างดีทั้งยังส่งเสียงสื่อสารกับโลมาตัวอื่นได้ด้วย
โลมาอิรวดีได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ ๑๓๘ (สัตว์ป่าคุ้มครองเป็นสัตว์ป่าที่เกิดในธรรมชาติและมีรายชื่ออยู่ในประกาศคณะรัฐมนตรีให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามล่า ห้ามครอบครอง หรือห้ามเพาะพันธุ์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต) สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงมีพระราชประสงค์ให้ช่วยกันอนุรักษ์โลมาอิรวดีซึ่งเป็นสัตว์หายาก พร้อมทั้งทรงรับไว้เป็นสัตว์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ส่วนสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) ก็จัดให้โลมาอิรวดีอยู่ในบัญชีตัวแดง (Red List) โดยอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต (Critically Endangered) โลมาอิรวดีถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ ๑๓๘


เครดิต

http://www.chachoengsao.most.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=98&Itemid=1

ไม่มีความคิดเห็น: