วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ไข้เลือดออก (Dengue Hemorhagic Fever)


ไข้เลือดออก (Dengue Hemorhagic Fever)

พบมากในเด็กอายุ 5-6 ปี รองลงมา 10-15 ปี และ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มพบได้มากขึ้น มีการระบาดในฤดูฝน สาเหตุ 90% จะมีสาเหตุจากเชื้อเดงกี (Dengue) มีระยะฟักตัว 3-15 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูงคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีเพียงส่วนน้อยที่อาจมีเลือดออกหรือมีอาการรุนแรง ต่อมาเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อซ้ำอีก ร่างกายจะเกิดปฏิกริยาทำให้หลอดเลือดฝอยเปราะ เกล็ดเลือดต่ำ ทำให้พลาสมาไหลซึมออกจากหลอดเลือด และมีเลือดออกง่ายเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะช็อก

โรคนี้มียุงลาย (Aedes aegyptl) เป็นพาหะนำโรคยุงชนิดนี้ชอบเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน เช่น ตุ่มน้ำ โอ่งน้ำ จานรองตู้กับข้าว แจกัน ฝากะลา กระป๋องที่มีน้ำขัง เป็นยุงที่ออกหากินเวลากลางวัน

อาการของโรคแบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง จะมีไข้สูงเฉียบพลัน ไข้สูงลอยตลอดเวลา หน้าแดง ตาแดง ปวดศีรษะ กระหายน้ำ ผู้ป่วยจะซึม เบื่ออาหาร และมีอาเจียนร่วมด้วย ในราววันที่ 3 อาจมีผื่นแดงไม่คัน ตามแขน ขา และลำตัวอาจคลำพบตับโต และกดเจ็บเล็กน้อย

ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก อาการไข้เริ่มลดลง แต่ผู้ป่วยมีอาการทรุดหนัก ปวดท้อง อาเจียน ตัวเย็น มือเท้าเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะน้อย ชีพจรเร็วเบา ความดันต่ำ อาจเสียชีวิตภายใน 1-2 วัน อาจมีเลือดออกตามผิวหนัง เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดสด หรือสีกาแฟ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ถ้าเลือดออกมากจะทำให้เกิดภาวะช็อครุนแรงถึงตายได้อย่างรวดเร็ว

ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว ในรายที่มีภาวะช็อกไม่รุนแรง เมือผ่านช่วงวิกฤตไปแล้วอาการจะดีขึ้นอย่งรวดเร็ว สิ่งที่ตรวจพบคือไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส หน้าแดง เปลือกตาแดง อาจมีตับโต กดเจ็บ มีผื่นแดง หรือจุดช้ำเขียว ทดสอบทูนิเคต์ให้ผลบวก


อาการแทกซ้อน
ภาวะเลือดออกรุนแรง
ช็อก
ตับวาย มีอาการดีซ่าน
กล้อมเนื้อหัวใจอักเสบ
หลอดลมอักเสบ
ปวดบวมน้ำ
การรักษา
ถ้าอาการไม่รุนแรง ควรให้การรักษาตามอาการโดยให้พักผ่อนมาก ๆ เช็ดตัวลดไข้ และให้ยาลดไข้ ถ้าเด็กเคยชักควรให้ยากันชัก ให้อาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก และดื่มน้ำมาก ๆ
ถ้าอาเจียนมากหรือเกิดภาวะขาดน้ำ ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
การป้องกัน
ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเช่น ปิดฝาโอ่งน้ำ และล้างโอ่งทุก 10 วัน เปลี่ยนน้ำในแจกันทุก 10 วัน จานรองตู้กับข้าว ควรใส่น้ำเดือดลงไปทุก 10 วัน หรือใส่เกลือแกง 2 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แก้ว ควรเก็บกระป๋องกะลา ยางรถยนต์เก่า ๆ ทิ้ง หรือเทน้ำที่ขังออกให้หมด




เครดิต

http://www.bknowledge.org/index.php/object/page/access/health/files/37.html

ไม่มีความคิดเห็น: